Saturday, January 5, 2008

100 เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเสือโคร่ง

น.สพ.กมลชาติ นันทพรพิพัฒน์
นายสัตวแพทย์ประจำสวนเสือศรีราชา

ลักษณะและสายพันธุ์
1. เสือโคร่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีขนาดร่างกายใหญ่ที่สุด
2. เสือโคร่งในป่าธรรมชาติเป็นสัตว์ที่อยู่บนยอดสุดของห่วงโซ่อาหาร
3. เสือโคร่งมีอยู่ 10 Subspecies คือ จีนใต้ , บาหลี , แคสเปี้ยน , สุมาตรา , ไซบีเรีย , เบงกอลมาเลเซีย , ทรินิล , อินโดจีน , ชวา
4. เสือโคร่งได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 4 Subspecies , เสือโคร่งพันธุ์ Bali สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 1940 , เสือโคร่งพันธุ์ Caspian สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 1970 , เสือโคร่งพันธุ์ Javan สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 1980 , และเสือโคร่งพันธุ์ Trinil
5. ชื่อละตินของเสือโคร่งแต่ละ Subspecies
Pantheris tigris amoyensis The South China tiger
Pantheris tigris altaica The Amur ( Siberian ) tiger
Pantheris tigris sumatrae The Sumatran tiger
Pantheris tigris corbetti The Indochinese tiger
Pantheris tigris tigris The Bengal tiger
Pantheris tigris balica The Bali tiger
Pantheris tigris virgata The Caspian tiger
Pantheris tigris sondaica The Javan tiger
Pantheris tigris jacksoni The Malayan tiger
Pantheris tigris trinilensis The Trinil tiger
6. เสือโคร่งพันธุ์ South China เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดเสือโคร่งของ Subspecies ของเสือโคร่งอื่น ๆ
7. เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ในสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ โดยเฉพาะเสือโคร่งชนิด South China ซึ่งมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมากโดยปัจจุบันพบอยู่ประมาณ 60 ตัว ในสวนสัตว์ต่าง ๆ ของจีน และอีกประมาณ 20 ตัวในป่าธรรมชาติ ( ซึ่งคาดการณ์กันว่าอีกประมาณ 20 ปีจะสูญพันธุ์ )
8. เสือโคร่งในธรรมชาติไม่พบอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา ถิ่นที่พบจะกระจายแถบทวีปเอเชียไปจนถึงประเทศจีนตอนใต้
9. เสือโคร่งในกรงเลี้ยงสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 20 ปี ในขณะที่เสือโคร่งในป่าธรรมชาติสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียง 10 ถึง 15 ปี
10. เสือโคร่งถูกจัดเป็น “Umbrell species” หมายถึงควรได้รับการปกป้องซึ่งรวมถึงการรักษาไว้ซึ่งถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร
11. เนื่องจากความหนาวเย็นทางตอนใต้ของประเทศรัสเซียและทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้เสือโคร่งสายพันธุ์ Siberian มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ที่สุดโดยมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 9 ฟุต 8 นิ้ว และมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 ปอนด์ มันมีขนที่หนาและมีถิ่นอาศัยที่กว้างใหญ่
12. เสือโคร่งสายพันธุ์ Bengal พบได้ในประเทศอินเดียและประเทศเนปาล ตามเขตแดนของประเทศจีน เป็นเสือที่มีขนาดใหญ่รองลงมา น้ำหนักเฉลี่ย 480 ปอนด์ และมีความยาวของลำตัว 9 ฟุต 5 นิ้ว
13. เสือโคร่งสายพันธุ์ Indochinese พบได้ตลอดแนวตอนใต้ของทวีปเอเชีย มันมีขนาดลำตัวยาว 8 ฟุต 8 นิ้ว และมีน้ำหนักตัว 380 ปอนด์
14. เสือโคร่งสายพันธุ์ South China พบได้เพียงทางตอนใต้ของประเทศจีน มันมีขนาดลำตัวยาว 8 ฟุต 1 นิ้ว และมีน้ำหนักตัว 336 ปอนด์
15. เสือโคร่งสายพันธุ์ Sumatran เป็นเสือโคร่งที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ยังไม่สูญพันธุ์ โดยมีขนาดลำตัวยาว 7 ฟุต 8 นิ้ว และมีน้ำหนักตัว 250 ปอนด์ นำมาซึ่งความเป็นจริงตามธรรมชาติที่พื้นที่อาณาเขตน้อยเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ที่เป็นเกาะสุมาตรา
16. มีข้อมูลบันทึกน้ำหนักที่มากที่สุดของเสือโคร่ง ซึ่งเป็นเสือสายพันธุ์ Siberian คือมีน้ำหนักถึง 1,025 ปอนด์
17. เสือโคร่งสายพันธุ์ Bengal มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือประมาณ 3,000 ตัว รองลงมาคือ เสือโคร่งสายพันธุ์ Indochinese ซึ่งมีประมาณ 1,000 – 1,500 ตัว และรองลงมาอีกคือเสือโคร่งสายพันธุ์ Siberian มีอยู่ประมาณ 230 – 400 ตัว และสุดท้ายเสือโคร่งสายพันธุ์ South China มีประมาณ 60 – 80 ตัว
18. เสือโคร่งสายพันธุ์ Sumatran จะมีแผงขนมากบริเวณต้นคอ
19. เสือโคร่งสายพันธุ์ South China จะมีลายบริเวณลำตัวน้อยที่สุด
20. ในปี 1959 เสือโคร่งสายพันธุ์ South China มีอยู่ประมาณ 4,000 ตัว ทั่วโลก

กายวิภาค
21. ลายบริเวณลำตัวของเสือโคร่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งคล้าย ๆ กับลายนิ้วมือของมนุษย์
22. ถ้าหากคุณโกนขนของเสือโคร่งออกให้หมด เสือโคร่งก็จะยังคงมีลายเหมือนเดิม
23. เสือโคร่งจะมีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสโดยเฉพาะด้านการรับฟังเสียง
24. เสือโคร่งไม่สามารถที่จะส่งเสียงขู่ได้ เหมือนลักษณะเด่นที่จะพบได้ในแมว
25. ดวงตาของเสือโคร่งจะไม่เหมือนดวงตาของแมวบ้านคือตาของเสือโคร่งจะมีรูม่านตาที่กลม แต่ในขณะที่รูม่านตาของแมวจะเป็นวงรี
26. รอยเท้าของเสือโคร่งสามารถสังเกตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากรอยเท้าของสุนัข บางครั้งสามารถระบุได้ว่าเป็นสัตว์ในตระกูลเสือ
27. เสือโคร่งสามารถหดอุ้งเล็บได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับอุ้งเล็บของแมวบ้านทั่วไป
28. เท้าหน้าของเสือโคร่งจะมีนิ้วเท้า 5 นิ้ว ส่วนนิ้วเท้าขาหลังจะมีอยู่แค่เพียง 4 นิ้วในเท้าแต่ละข้าง
29. การมองเห็นในเวลากลางคืนของเสือโคร่งนั้นสามารถมองเห็นได้ดีกว่าสายตาของมนุษย์
30. ฟันเขี้ยวของเสือโคร่งสามารถยาวได้ถึง 3 นิ้ว ซึ่งสามารถฉีกสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดบนโลกได้
31. เสือโคร่งจะมีฟันน้ำนมจำนวน 24 ซี่ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10 - 14 วัน
32. เสือโคร่งที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีฟันแท้ทั้งหมด 30 ซี่
33. โดยเฉลี่ยแล้วหางของเสือโคร่งจะมีความยาว 4 ฟุต หรือมีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว
34. หางของเสือโคร่งจะช่วยในการทรงตัวในขณะที่เสือโคร่งวิ่ง และช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างเสือโคร่งด้วยกันเอง
35. เส้นเอ็นบริเวณขาของเสือโคร่งนั้นมีความแข็งแรงมาก ดูได้จากการล่าเหยื่อที่ตะปบให้เหยื่อเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
36. เท้าหน้าของเสือโคร่งจะมีกำลังมาก ซึ่งมากกว่าเท้าหลังเพื่อการตะปบเหยื่อที่มีขนาดใหญ่
37. เสือโคร่งสายพันธุ์ South China จะมีลักษณะของโครงสร้างกะโหลกที่แตกต่างกันไป เบ้าตาลึก และมีโหนกนูนเล็กน้อยบริเวณด้านหลังต้นคอ
38. ลายของเสือโคร่งส่วนมากจะเป็นพื้นสีส้มและมีแถบดำคาด และขนบางแห่งจะมีสีขาวโดยเฉพาะขนบริเวณด้านท้องและขากรรไกรล่าง
39. เสือโคร่งที่โตเต็มที่หนึ่งตัวสามารถกินเนื้อได้ถึง 6 กิโลกรัมต่อวันและสามารถอดอาหารได้เป็นอาทิตย์โดยไม่กินอะไรเลย
40. เสือโคร่งเพศเมียจะมีเต้านม 4 เต้า หรือบางครั้งอาจพบเต้านม 3 – 5 เต้าได้

ชีววิทยา
41. เสือโคร่งที่โตเต็มที่เป็นสัตว์ที่ชอบสันโดษ มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง ซึ่งอาจจะคลอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ตารางไมล์
42. เสือโคร่งจะสร้างอาณาเขตของตัวเองโดยการสเปร์ฉี่ไปตามต้นไม้ ข่วนต้นไม้เป็นสัญลักษณ์
43. กลิ่นฉี่ของเสือโคร่งและรอยขีดข่วนที่เสือทำไว้เป็นสัญลักษณ์ที่เสือด้วยกันสามารถรับรู้ได้ สัญลักษณ์นี้ไม่ได้เพียงเพื่อจะเตือนหรือห้ามไม่ให้บุกรุก แต่ยังเป็นการให้ข้อมูลแก่เสือตัวอื่น ๆถึงความต้องการทางการผสมพันธุ์ด้วย
44. อาณาเขตของเสือเพศผู้จะมีการซ้อนทับกับอาณาเขตของเสือเพศเมียหลายตัว
45. เสือโคร่งจะมีการเดินทางภายในอาณาเขตของตนเองทุก ๆ 2 – 3 วัน
46. ลายที่ลำตัวของเสือโคร่งมีประโยชน์มากสำหรับการอาศัยหรือการหลบซ่อนในบริเวณที่เป็นหญ้ารกทึบและสูง
47. เสือโคร่งจะมีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสโดยเฉพาะด้านการรับฟังเสียง
48. เสือโคร่งสามารถล่าเหยื่อได้สำเร็จจากการพยายามล่าเหยื่ออย่างน้อย 20 ครั้ง
49. เสือโคร่งชอบกินหมู กวาง ควาย แต่ก็ชอบกินเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยเช่น กระต่าย ปลา
50. โดยเฉลี่ยแล้วเสือโคร่งสามารถกินอาหารได้มากถึง 60 ปอนด์ของเนื้อภายในมื้อเดียวได้
51. หลังจากเสือโคร่งกินอาหารเสร็จแล้ว เสือโคร่งจะทำการซ่อนซากเหยื่อจากสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ๆ เพื่อที่ตัวมันเองจะกลับมากินอีกครั้ง
52. เสือโคร่งสามารถอดอาหารได้ 2 – 3 วันโดยไม่กินอะไรเลย
53. เสือโคร่งสามารถใช้เวลาอย่างน้อย 18 ชั่วโมงในการนอนหลับ
54. เสือโคร่งสามารถว่ายน้ำได้ และชอบความเย็นโดยการลงไปนั่งแช่น้ำ
55. เวลาเสือโคร่งจะเข้าทำร้ายเหยื่อจะไม่เข้าด้านหน้า แต่จะลอบเข้าทำร้ายจากด้านหลัง
56. เหยื่อพวกกวางที่เสือโคร่งล่าได้ เสือโคร่งจะเลือกกินกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกของเหยื่อก่อน โดยที่เสือโคร่งจะไม่กินเหยื่อบริเวณท้อง และมักไม่กินเครื่องใน
57. เสือโคร่งเป็นสัตว์หากินกลางวัน เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพความแข็งแรงสูงสุดจะเป็นช่วงเช้าถึงเย็น
58. เสือโคร่งจะก้าวเท้าไปทางด้านหน้าด้วยการที่ก้าวเท้าที่อยู่ด้านเดียวกันออกไปก่อน

การสืบพันธุ์
59. วัยเจริญพันธุ์ของเสือโคร่งเฉลี่ยแล้วอยู่ที่อายุ 3 ปี
60. เสือโคร่งเพศผู้นั้นสามารถทำการผสมพันธุ์ได้ 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
61. เสือโคร่งเพศเมียมักจะให้กำเนิดลูกเสือ 2 – 3 ตัวต่อครอกในป่าธรรมชาติ และมีโอกาสการสูญเสียค่อนข้างมาก
62. ช่วงระยะเวลาของการตั้งท้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 102 – 106 วันนับจากวันที่เริ่มมีการผสมพันธุ์
63. เสือโคร่งทุกสายพันธุ์จะให้กำเนิดลูกเสือในอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียในอัตรา 1:1
64. ลูกเสือแรกเกิดจะไม่สามารถมองเห็น หนังตาเปิดออกจากกันเมื่ออายุประมาณ 7 – 10 วัน
65. อัตราการเจริญเติบโตในลูกเสือสามารถเติบโตได้ถึงวันละ 100 กรัมต่อวัน
66. ลูกเสือจะเริ่มกินอาหารแข็งเมื่ออายุประมาณ 12 – 13 สัปดาห์ และหย่านมเมื่ออายุระหว่าง 17 สัปดาห์
67. ลูกเสือจะเล่นและฝึกการต่อสู้กับพี่น้องร่วมครอกเดียวกัน ซึ่งสามารถทำให้มันมีความแข็งแรงและมีความว่องไวเพิ่มมากขึ้น
68. ลูกเสือจะสามารถที่จะทำการล่าเหยื่อได้เองเมื่อมันมีอายุราว 18 เดือน
69. ลูกเสือจะอยู่กับแม่เสือโคร่งจนถึงอายุประมาณ 2 – 3 ปี
70. เสือโคร่งเพศผู้จะเข้าใจการฆ่าและกินลูกเสือโคร่งที่เป็นเพศผู้ตัวอื่น ๆ ก่อนที่ลูกเสือจะเติบโตมาแย่งการผสมกับเสือโคร่งเพศเมีย
71. บ่อยครั้งก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์ เสือโคร่งจะมีการแสดงอาการคลอเคล้ากัน และมีการทำเสียงในลักษณะให้มีลมเบา ๆ ผ่านออกมาทางรูจมูก
72. เสือโคร่งสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนเมษายน
วัฒนธรรมและความเชื่อ
73. น้ำลายของเสือโคร่งบางคนเชื่อว่าปราศจากเชื้อโรคและเหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดบาดแผลตัวเสือโคร่งเอง
74. บางหมู่บ้านจะมีการใส่หน้ากากเอาไว้ทางด้านหลังของศีรษะเอาไว้ตลอดเวลาในขณะเข้าป่าเพื่อป้องกันการเข้าทำร้ายของเสือโคร่ง
75. จุดด่างสีขาวบนหลังใบหูของเสือโคร่งทุกตัวนั้น มนุษย์มีความเชื่อว่ามันมีไว้เพื่อให้ลูกเสือสังเกตเห็นแม่มันในขณะที่ลูกเสือเดินตามหลังแม่
76. เสือโคร่งขาวไม่ใช่เสือโคร่งเผือก , เสือโคร่งขาวทุกตัวนั้นมีความเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากเสือโคร่งขาวเพียงตัวเดียวซึ่งเป็นเพศผู้มีชื่อว่า “Mohan”
77. แต่ก่อนมีความเชื่อว่าเสือโคร่งสายพันธุ์ South China ไม่สามารถนำมาฝึกได้ , ละครสัตว์ส่วนมากในประเทศจีนจะยกเลิกการฝึกหลังจากที่ได้ทดลองฝึกแล้วเห็นว่าไม่ได้
78. ในประเทศจีนมีการนับถือและบูชาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นความเชื่อว่ามีพลัง
79. เสือโคร่งเป็นหนึ่งในสัตว์ 12 นักษัตร คือเป็นสัตว์ที่อยู่ในตำแหน่งที่ 3
80. หยินและหยาง บางครั้งก็มีการเปรียบเทียบกับเสือโคร่งคือ หยินเปรียบเป็นเสือโคร่งและหยางเปรียบเหมือนมังกร
81. ทุก ๆ ส่วนของตัวเสือโคร่งทางประเทศจีนมีความเชื่อว่าเป็นยาทั้งหมด
82. ความเชื่อทางด้านการนำอวัยวะของเสือโคร่งไปทำยานั้นทางประเทศจีนมีความเชื่อมากว่า 1,000 ปีแล้ว
83. ยังไม่มีการรายงานยืนยันทางด้านการแพทย์ว่าอวัยวะต่าง ๆ ของเสือโคร่งสามารถรักษาโรคได้

เกร็ดความรู้
84. บางที่ของประเทศอินเดียเรียกเสือโคร่งว่า Sundehan ซึ่งรู้กันว่ากินมนุษย์
85. เสือโคร่งทุกตัวจะมีลายที่ใกล้เคียงกันที่บริเวณหน้าผาก ซึ่งคล้ายกับภาษาเขียนของภาษาจีนซึ่งมีความหมายว่า “wang” ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์
86. ภาษาจีนเรียกเสือว่า “Wu Lao Hu” ภาษาอินเดียเรียกว่า “Bagh” “Sher” ภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า “Harimau” “Macan” ภาษาเกาหลีเรียกว่า “Ho Lang-ee” ภาษาเวียดนามเรียกว่า “Cop” ภาษาไทยและลาวเรียกเสือว่า “Seua” ประเทศเนปาลเรียกว่า “Bagh” ภาษาพม่าเรียกว่า “Kyar” และที่ประเทศมาเลเซียเรียกว่า “Harimau”
87. ในประเทศไทย เสือโคร่งจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
88. เสือโคร่งลดจำนวนลงเนื่องจากการถูกคุกคามพื้นที่ป่าและการลักลอบล่า
89. ในทวีปเอเชียยังคงมีการลักลอบเลี้ยงเสือโคร่งเพื่อจะส่งอวัยวะ หรือชิ้นส่วนซากออกไปจำหน่ายยังตลาดมืดเพื่อใช้เป็นยาจีน
90. ในระหว่างปี 1960 และ 1984 มีการจับพวกลักลอบค้าสัตว์ป่าได้และพบหนังเสือโคร่งเป็นจำนวนกว่า 3,000 ผืน
91. ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศจีนได้กำหนดกฎหมายเพื่อการคุ้มครองเสือโคร่งอย่างเข้มงวด เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งให้คงอยู่คู่กับประเทศจีนต่อไป
92. การลักลอบค้าซากเสือโคร่งปัจจุบันได้ลดน้อยลง ซึ่งยิ่งทำให้ราคาสูงมากขึ้นโดยถ้ามีการค้าเสือโคร่งเพียงหนึ่งตัวนั่นหมายถึงว่าสามารถได้รับเงินเท่า ๆ กับการได้รับเงินเดือนยาวนานไป 10 ปีเลยทีเดียว
93. ประเทศที่มีการลักลอบค้าเสือโคร่งกันมากได้แก่ จีน , ไต้หวัน , เกาหลี , และญี่ปุ่น
94. คาดการณ์ว่าเสือโคร่งสายพันธุ์ Bengal ยังคงมีการลักลอบ โดยเฉลี่ยแล้วมีการลักลอบวันละ 1 ตัว
95. ในปี 1980 ในประเทศไต้หวันการค้าขายเสือโคร่งเป็นเรื่องที่พบเห็นโดยทั่วไป
96. โรงเบียร์ที่ประเทศไต้หวันมีการนำเข้ากระดูกเสือโคร่งกว่า 2,000 กิโลกรัมในช่วงปี 1980 และมีซากเสือโคร่งจำนวน 100 – 200 ซากเพื่อการผลิตไวส์ 100,000 ขวด
97. ปัจจุบันนี้มีเสือโคร่งที่เลี้ยงอยู่ในกรงเลี้ยงมีจำนวนมากกว่าเสือโคร่งที่อยู่ตามธรรมชาติ
98. เสือโคร่งก็เป็นไข้หวัดนกได้เช่นเดียวกับสัตว์ปีก
99. มนุษย์ถูกเสือโคร่งทำร้ายจนถึงเสียชีวิตเฉลี่ย 50 คนต่อปี
100. มันเป็นการยากที่จะนับจำนวนเสือโคร่งที่อยู่ในธรรมชาติได้ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญได้คาดคะเนว่าน่าจะมีน้อยกว่า 6,000 ตัว

7 comments:

Anonymous said...

เรียน คุณหมอกมลชาติ

อันนี้เข้าข่ายหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่าค่ะ

^_^ ล้อเล่นค่ะ (ก็เขียนเรื่องเสือและจระเข้ มาด้วยกัน ก็เลยคิดว่าจะเกี่ยวกันหรือเปล่า)

สำหรับ comment เนื่องจากเนื้อหาเยอะ ต้องใช้เวลาอ่าน อ่านจบเมื่อไรแล้วจะมา comment อีกทีนะค่ะ

ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆ มาให้อ่านค่ะ

Anonymous said...

ขอบพระคุณคุณหมออย่างสูงค่ะ สำหรับความรู้ที่ดีมาก ๆ

ส่วนตัวแล้วชอบเสือและสนใจเรื่องนี้มาก
ตอนเด็ก ๆ ยังไม่รู้ประสาุเคยถึงกับ
ขอคุณพ่อเลี้ยงเสือเป็นของขวัญ
วันเกิด 555
ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

jariya News said...

ญ.ขอตามเพิ่มเติมสักนิดว่าเสือโคร่งกับเสือลายพาดกลอนนี่เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่คะ..เหะๆๆ อยากทราบมานานแล้วอ่ะค่ะ..สถานการณ์ของเสือโคร่งที่ประเทศอินเดียนี่โดนล่าชนิดเกือบจะสูญพันธ์ไปจากประเทศ เมื่ออินเดียถูกอังกฤษเข้ายึดครองก็มีประเพณีการล่าเสือโคร่งเห็นแล้วหดหู่ใจ ไหนจะเกิดจากการที่ประชากรล้นประเทศเข้าบุกรุกพื้นที่ของเสือโคร่งอีกจนมาได้รัฐบาลของนางอินทิรา คานที ที่เข้ามาช่วยโอบอุ้มและอนุรักษ์พันธุ์เสือเอาไว้แต่พอนางคานทีถูกลอบฆ่า เสือโคร่งของอินเดียก็กลับถูกล่าดังเช่นเดิมแต่หลังๆนี่หนักสุด ก็เพราะมนุษย์ผู้ขาดความเชื่อมั่นโดยมีความเชื่อว่ากระดูกเสือสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ซึ่งหมอแผนโบราณของจีนได้ระบุเอาไว้ ประชากรของเสือโคร่งจึงลดลงอย่างน่าใจหายในเขตภูมิภาคเอเซีย ก็เพราะความเชื่อผิดๆนี้ซึ่งยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ามันทำให้เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่..ญ.ขออนุญาติร่วมแชร์ประสบการณ์นะคะ..

Anonymous said...

ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่าการบริโภคอวัยวะเพศผู้ของเสือโคร่งจะเป็นยาบำรุงจริงหรือป่าว ( ยังไม่เคยใช้ครับ และก็ไม่คิดใช้อยู่แล้ว ) ตอนนี้ผมศึกษาเรื่องเสือโคร่งอยู่ครับเป็นงานที่ต้องทำก่อนจบปริญญาโท ก็มีส่วนหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการผสม จากการเก็บข้อมูลนะครับ เสือโคร่งเพศผู้สามารถผสมกับเสือโคร่งเพศเมียได้หลายครั้งต่อวัน ( ประมาณ 10 - 50 ครั้งครับ ) ขึ้นกับหลายปัจจัย ซึ่งในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 1 นาทีครับ ย้ำนะครับ 1 นาที อย่างนี้คนโบราณอาจจะบอกว่านกกระจอกกินน้ำหรือป่าว ( แต่คงไม่ใช่นกกระจอกเทศกินน้ำแน่ๆ ) ลองเลือกเอาครับว่าจะกินแล้วได้อย่างแรกหรือกินแล้วได้อย่างหลัง คุยกันสนุก ๆ นะครับอย่างซีเรียส

YingeXtreme said...

ฮั่นแน่!!! พี่หมอกมลชาติเล่นปฏิเสธเสียแข็งเชียวน๊า!! ไม่ได้ว่าพี่หมอสักหน่อยนี่นา..ญ.แค่ยกตัวอย่างเฉยๆค่ะ..(ขอแซวหน่อยนะคะพี่หมออย่าถือน๊า!)

YingeXtreme said...

พอดีญ.เคยหาบทความไปลงที่เว็บรถกระบะของตัวเองไปเจออยู่บทความหนึ่งซึ่งเป็นการผสมเทียมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเสือตัวผู้และสิงโตตัวเมียเราจะได้ ไทกอน(Tigon)ส่วนลูกของสิงโตตัวผู้กับเสือตัวเมีย จะได้เป็นไลเกอร์ (Liger) เสียดายที่ญ.ใส่ภาพไม่เป็นรบกวนคุณหมอใช้วิธี Click ไปที่ Link ด้านล่างนะคะ

http://www.pickupextreme.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1312

ญ.อยากทราบว่าที่เมืองไทยเคยมีใครทำการผสมเทียมข้ามสายพันธุ์แบบนี้หรือยังคะ แล้วผลผลิตที่ได้เป็นไลเกอร์กับไทก้อน มันจะเป็นหมันอันนี้ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือเปล่าคะ รบกวนคุณหมอช่วยชี้แนะให้ญ.ทราบด้วยนะคะ..

เหะๆ เพิ่งจะอ่านอย่างละเอียดคุณหมอเป็นสัตวแพทย์ประจำสวนเสือศรีราชานี่เองว่างๆจะแวบไปเยี่ยมคุณหมอกะน้องเสือนะคะ

Anonymous said...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ